INTERFINN BUSINESS COLLEGE

Central Knowledge Society

การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า : Value Chain Analysis


สวัสดี ครับ ช่วงนี้ เราห่างหายการเขียนบทความมาให้สมาชิกได้อ่านกัน เพราะช่วงนี้เราไปช่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายที่มาก และต้องใช้เวลากับความคิดเยอะมากเลยห่างหายการเขียนบทความไปครับ

วันนี้ เรามาคุยกันในเรื่องของการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้บรรลุความเป็นเลิศในสิ่งที่สำคัญจริงๆ หมายถึง สิ่งที่คุณถนัด สิ่งที่คุณทำได้ดีและเก่งเกินเพื่อนๆ ในกลุ่มเดียวกัน หรือคู่แข่งของคุณ เป็นต้น

การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการทำงาน และใช้ออกแบบหรือวางแผนงานในธุรกิจของคุณเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุดสำหรับลูกค้าของคุณ

ในธุรกิจปัจจุบัน เรากำลังใช้จ่ายให้กับปัจจัยการผลิตที่เป็นวัตถุดิบและนำไปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูป “เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า” ให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของพวกเขา เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้รับสินค้าไปแล้วรู้สึก “คุ้มค่า” สิ่งนี้เป็นเรื่องง่ายสำหรับกระบวนการทำงานของผู้ผลิตระดับอุตสาหกรรม เช่น การนำเยื่่อไม้ มาผ่านกระบวนการแปรรูปของการผลิตแบบอุตสาหกรรมและแปลงมันให้เป็นสิ่งที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการ คือ กระดาษ เป็นต้น

นักธุรกิจส่วนใหญ่และผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต่างจะพุ่งเป้าไปที่การแปรรูปวัตถุดิบหรือการให้บริการแก่ลูกค้าให้ตรงกับความต้องการ โดยเน้นที่ ความรวดเร็ว  ความสะดวกสบาย  การเพิ่มมูลค่า หรือการเพิ่มคุณค่า  การเพิ่มประโยชน์และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์  แต่ทั้งหมดนี้พวกเขาลืมไปว่าลูกค้าของคุณไม่จำเป็นจะต้องอยู่ภายนอกองค์กรของคุณ พวกเขาสามารถบังคับบัญชาเพื่อนร่วมงานของคุณหรือกลุ่มคนที่ขึ้นอยู่กับการทำงานของคุณ

ส่วนนี้มีความสำคัญจริงๆ : การเพิ่มมูลค่าที่คุณคิดสร้างสรรค์ และผู้คนส่วนมากยินดีที่่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ และนอกเหนือจากนั้นพวกเขาทั้งหลายต้องการซื้อจากคุณเท่านั้น  ในระดับของความเป็นส่วนตัว ถ้าคุณวางแผนจะเพิ่มมูลค่าจำนวนมากเข้าไปในทีมงานของคุณ  ซึ่งจะทำให้ทีมงานของคุณจะเก่งในสิ่งที่คุณกำลังจะทำ  หลังจากนั้นคุณควรจะคาดหวังว่าได้รับการตอบแทนที่สอดคล้องกับผลงานของคุณ

ดังนั้น คุณจึงจำเป็นที่จะต้องค้นหาวิธีการที่คุณและทีมงาน หรือ บริษัทของคุณ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้? 

นี่คือ “การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า” เครื่องมือที่มีประโยชน์ การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าจะช่วยให้คุณระบุวิธีที่คุณสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าของคุณ ต่อจากนั้นจะช่วยให้คุณคิดค้นวิธีที่คุณจะสามารถเพิ่มความคุ้มค่านี้ไม่ว่าจะผ่านผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม หรือบริการที่เป็นเลิศ ที่เป็นผลงานของคุณ

หมายเหตุ :

เราอยากให้คุณอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม คือ 5 Forces Tools ของ Professor Michael Porter เพื่อให้เกิดควาามเข้าใจในเชิงลึกและกว้างอีกครั้ง

วิธีการใช้เครื่องมือ : 

การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า เป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. การวิเคราะห์กิจกรรม : ครั้งแรกที่คุณระบุกิจกรรมที่คุณจะดำเนินการส่งมอบสินค้า หรือ บริการของคุณ

2. การวิเคราะห์คุณค่า : การวิเคราะห์คุณค่าของแต่ละกิจกรรมที่คุณคิดว่ามีความจำเป็น และแนว ทางหรือกระบวนการวิธีการที่คุณจะทำอย่างไร? อะไรที่คุณจำเป็นจะต้องทำเพิ่ม?  อะไรคือคุณค่าสูงสุดที่ลูกค้าต้องการจากคุณ?

3. การประเมินผลและการวางแผน : คุณจำเป็นที่จะต้องประเมินว่าจะมีมูลค่าการเปลี่ยนแปลง จากการเพิ่มคุณค่าลงไปในผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของคุณอย่างไร?   หลังจากนั้นก็วางแผนสำหรับการ กระทำเหล่านั้น

ขั้นที่ 1. การวิเคราะห์กิจกรรม

ขั้นตอนแรกจะมีการระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่คุณหรือทีมงาน หรือ บริษัทของคุณ จะต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

กระบวนการคิดนี้อยู่ในส่วนของกระบวนการกิจกรรมทางธุรกิจ  ที่คุณใช้เพื่อบริการลูกค้า รวมทั้งการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ เช่น เป้ายอดการสั่งซื้อจากลูกค้า  กระบวนการปฎิบัติงาน  กระบวนการจัดส่ง  ส่วนงานสนับสนุน และอื่นๆ (นี้เป็นเพียงบางส่วน ซึ่งคุณจำเป็นที่จะต้องคิดเกี่ยวกับกระบวนการหรือขั้นตอนอื่นๆ อีกมากมาย หรือกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงในอุตสาหกรรมของคุณ)

ในระดับบุคคลหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการไหลของขั้นตอนการทำงานที่คุณดำเนินการหรือมีส่วนร่วม เช่น

  • วิธีการที่คุณใช้เลือกพนักงานและทีมงานที่มีทักษะและความชำนาญด้านบริการที่ดีที่สุด อย่างไร?
  • วิธีการที่คุณกระตุ้นตัวคุณเองหรือทีมงานของคุณให้ทำงานอย่างดี มีประสิทธิภาพ อย่างไร?
  • วิธีการที่ทำให้คุณทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี ใช้เทคนิคในการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเพิ่มผลผลิตด้วยขั้นตอนที่สั้นลง อย่างไร?
  • วิธีการที่คุณเลือกและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและการให้บริการที่ดี ที่ทำให้คุณก้าวทันหรือเหนือกว่าคู่แข่ง อย่างไร?
  • วิธีการที่คุณได้รับการตอบรับจากลูกค้าของคุณ เกี่ยวกับวิธีการที่คุณทำ และวิธีการที่คุณสามารถปรับปรุงเพิ่มเติม

เคล็ดลับ : 

ถ้าคุณดำเนินการระดมความคิดให้มากที่สุด และทำการวิเคราะห์การทำงานที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งวิเคราะห์ “คุณค่าที่ได้” กับ “ทีมงานของคุณ”  เชื่อมั่นได้เลยจะต้องได้คำตอบมากกว่าที่คุณคิดเบื้องต้น  ถ้าคุณทำงานนี้ด้วยตัวของคุณเอง  นอกจากนี้คุณยังอาจจะพบว่าทีมงานของคุณมีแนวโน้มที่จะ “ซื้อความคิดของคุณ” ตรงข้อสรุปเงื่อนไขใดๆ ที่คุณวาดกรอบของการปรับปรุงพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับทีม และมากพอที่พวกเขาจะยอมทำอย่างที่คุณต้องการ

เมื่อคุณได้ทำการะดมสมองที่จะปรับปรุงกิจกรรมที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทของคุณ ในรายการของทีมงานคุณ  วิธีการที่เป็นประโยชน์ของการทำเช่นนี้ คือ การวางตำแหน่งของพวกเขาออกมาในรูปแบบของแผนภูมิการไหลของานแบบง่ายๆ (Work Flow Process)  ซึ่งจะช่วยให้การแสดงออกของความคิดเป็นลำดับขั้นในรูปแบบของ “ห่วงโซ่คุณค่า” ของคุณ  ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้จากตารางด้านล่างนี้

ขั้นที่ 2. การวิเคราะห์คุณค่า

ขั้นตอนนี้จะเป็นการวิเคราะห์กิจกรรมที่คุณได้ระบุในแต่ละรายการ “ปัจจัยที่คุ้มค่า”  สิ่งที่มีคุณค่าต่อลูกค้าของคุณในแต่ละกิจกรรมที่จะดำเนินการ

ตัวอย่าง ถ้าคุณคิดเกี่ยวกับโทรศัพท์  กระบวนการสั่งการ  ลูกค้าของคุณจะเป็นคำตอบที่เร็วที่สุดในการเลือกโทรหาเขา หรือ เธอ เป็นการโทรศัพท์ด้วยความสุภาพอ่อนน้อม  ระบบการรับรายละเอียดการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ  การตอบโต้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ความรู้และความสามารถในการตอบคำถามลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความละเอียดรอบคอบ และความรวดเร็วในการแก้ปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้น

หากคุณกำลังคิดเกี่ยวกับการส่งมอบบริการระดับมืออาชีพ สำรับลูกค้าของคุณมีค่ามากที่สุด  ซึ่งนี้จะเป็นทางออกที่ถูกต้อง และมีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูลที่ทันสมัยสมบูรณ์ สามารถนำไปปฎิบัติได้

ขั้นที่ 3. การเปลี่ยนแปลงการประเมินและวางแผนสำหรับการดำเนินการ

หลังจากที่คุณได้ทำการวางแผนตามกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 เสร็จแล้ว คุณจะได้แนวทางที่มีคุณค่าในการเพิ่มการส่งมอบให้กับลูกค้า  และถ้าคุณสามารถส่งมอบสิ่งเหล่านี้ให้กับบริการของคุณ มันอาจจะกลายเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อสำหรับคุณและทีมงานได้

ขั้นตอนนี้คุณจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อให้ที่มงานของคุณสามารถทำได้จริง ภายใต้ศักยภาพและประสิทธิภาพในปัจจุบัน  ซึ่งคุณจำเป็นที่จะต้องออกแรงเกิน 100% ที่จะชักนำและทำให้การทำงานที่วางแผนไว้เกิดประสิทธิผลอย่างที่ตั้งเป้าไว้

Tip :  

คุณจำเป็นที่จะต้องเลือกกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว  ราคาถูก  สามารถทำได้จริง เพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณของทีมงานให้ต่อสู้อย่างไม่สิ้นสุด

คุณจำเป็นที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญของงานที่เหลือยู่  และวางแผนที่จะจัดการร่วมกับพวกเขา ด้วยวิธีการตามขั้นตอนที่ได้มีการวางแผนปรับปรุงในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งจำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในทีมงานของคุณ

เคล็ดลับ : 

ถ้าคุณมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งพอ หรือมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในความคิดของลูกค้า คุณก็อาจจะมีมูลค่าพอที่จะนำเสนอข้อสรุปของคุณไปเล่าให้พวกเขาฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพวกเขา   นี้เป็นวิธีการที่ดีที่จะยืนยันว่าคุณกำลังตอบสนองความต้องการของพวกเขาด้วยมูลค่าที่สูงขึ้น และได้รับความรู้สึกที่ดี เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ

ตัวอย่าง :

คุณลักษมี เป็นผู้จัดการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Software House  เธอและทีมงานของเธอมีการจัดการปรับปรุงซอฟต์แวร์ในเวลาอันสั้น สำหรับลูกค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเธอใช้วิธีการพัฒนาทีมงานด้วยการวิเคราะห์คุณค่าของเธอและทีมงานด้วย ” ห่วงโซ่คุณค่า” เพื่อที่จะหาวิธีที่พวกเขาจะสามารถส่งมอบบริการที่เป็นเลิศให้กับลูกค้าของเขา

ในระหว่างการวิเคราะห์ขั้นตอนของกิจกรรมส่วนหนึ่ง พวกเขาระบุกิจกรรมว่ากิจกรรมต่อไปนี้สร้างมูลค่าให้กับลูกค้า :

  • การสั่งซื้อ
  • ข้อกำหนดการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
  • การกำหนดเวลาเสร็จที่แน่นอน
  • วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • การทดสอบโปรแกรม
  • การทดสอบรอบ 2
  • กระบวนการจัดส่งสินค้า
  • การให้การสนับสนุนแก่ลูกค้า

คุณลักษมี ได้กำหนดเครื่องหมายสัญญาลักษณ์ตรงขั้นตอนของกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าเหล่านี้  นอกจากนี้ คุณลักษมี ได้มีการกำหนดกิจกรรมที่พัฒนาทีมงานภายในที่สำคัญ :

  • กระบวนการรับสมัครพนักงาน : เลือกคนที่มีประสบการณ์และสามารถทำงานที่ต้องการได้ดี
  • การฝึกอบรม : ช่วยให้สมาชิกในทีมงานพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สมาชิกในทีมมีความรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ  เทคนิคและเทคโนโลยีที่พวกเขามีการพัฒนา

คุณลักษมี ได้กำหนดเครื่องหมายในกิจกรรมของ ห่วงโซ่คุณค่า เหล่านี้บนกระดานไวท์บอร์ดของเธอ ดังตัวอย่างด้านล่าง :

ขั้นตอนถัดไปเธอและทีมงานของเธอมุ่งเน้นในกระบวนการสั่งซื้อ การดำเนินการระบุปัจจัยที่จะให้มูลค่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดให้กับลูกค้า เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ พวกเขาได้ระบุปัจจัยคุณค่า ดังต่อไปนี้

  • ให้คำตอบอย่างรวดเร็วด้วยการโทรศัพท์ไปหา
  • มีความรู้ที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม และเข้าใจสถานการณ์ทางธุรกิจของลูกค้า เพื่อไม่ให้ลูกค้าต้องเสียเวลาในการรอคอยที่นาน และจะไม่อธิบายสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อลูกค้าเพื่อแก้ตัวที่ทำงานล่าช้า
  • ตั้งคำถามที่ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของลูกค้า และมีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง
  • อธิบายกระบวนการในการพัฒนาให้กับลูกค้า และบริหารจัดการความคาดหวังของเขา หรือ เธอ ให้เป็นไปตามตารางเวลาที่จะทำการจัดส่ง

คุณสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ใน “มูลค่าปัจจัย” คอลัมน์ของรูปที่ 1

จากนั้นพวกเขามองสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อให้คุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้า สิ่งเหล่านี้จะแสดงในรูปที่ 1  “การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น” คอลัมน์

จากนั้นพวกเขามองสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อให้คุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้า  สิ่งเหล่านี้จะแสดงในรูปที่ 1 “การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น” คอลัมน์

แล้วพวกเขาทำเช่นเดียวกันสำหรับกระบวนการอื่นๆ

เมื่อระดมความคิดทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ คุณลักษมี และทีมงานของเธอจะสามารถระบุชัยชนะที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  ปฎิเสธผลงานที่มีคุณภาพต่ำ  และมีค่าใช้จ่ายสูง  และยอมรับความสำคัญของทีมงานของพวกเขา

 สิ่งสำคัญ : 

การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ของการคิดผ่านวิธีการที่คุณส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าของคุณ และทบทวนทุกสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อเพิ่มมูลค่าได้

มันจะเกิดขึ้นเป็นกระบวนการตามขั้นตอน 3 ประการ :

  • การวิเคราะห์กิจกรรม : คุณระบุกิจกรรมที่นำไปสู่การส่งมอบสินค้าหรือบริการของคุณ
  • การวิเคราะห์คุณค่า :  คุณระบุสิ่งที่มีคุณค่าของลูกค้า ในกระบวนการที่คุณดำเนินการแต่ละกิจกรรมแล้วมีผลงานออกมา  และมีการเปลี่ยนแปลงถ้าจำเป็น
  • การประเมินผลและการวางแผนการ : คุณตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลง  และทำการวางแผนว่าคุณจะทำให้พวกเขา

สุดท้ายนี้ เราเชื่อว่าทุกๆ คน จะเข้าใจกระบวนการคิดแบบ “ห่วงโซ่คุณค่า” และสามารถนำไปพัฒนากระบวนการทำงานในองค์กรของคุณ เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในด้านส่งมอบคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้แก่ลูกค้า

เอกกมล เอี่ยมศรี

ผู้เรียบเรียง

https://eiamsri.wordpress.com 

http://www.interfinn.com 

สิงหาคม 8, 2011 - Posted by | Cost Benefit Analysis |

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น